ยินดีต้อนรับค่ะะ

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ลีลาศ

ประวัติความเป็นมาของลีลาศ “ลีลาศ” หมายถึงการเต้นเพื่อความสนุกสนานและได้พบกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมในงานสังสรรค์ หรืองานราตรีสโมสร ลีลาศนี้ มีมานับเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่เพิ่งมีหลักฐานแน่ชัดเมื่อประมาณ ปี ค.ศ.1400 ซึ่งได้อธิบายถึงการก้าวเดิน และดนตรี การเต้นรำแบบบอลรูม (BALLROOM DANCING) เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างชาติและเผ่าพันธุ์ต่างๆ ถึงแม้ว่าชาวตะวันตกจะนิยมกันอย่างมาก แต่การเต้นรำแบบบอลรูมก็เป็นที่ยอมรับของชนทุกชาติ
ประวัติความเป็นมา ในสมัยดึกดำบรรพ์ ชาวสปาร์ต้า จะฝึกกีฬา เช่น ชกมวย, ยิงธนู, วิ่ง, ขี่ม้า ล่าสัตว์ รวมการ เต้นรำ ส่วนชาวโรมันมีการเต้นรำเพื่อแสดงความกล้าหาญ ผู้ที่มีชื่อเสียงในการเต้นตำของโรมันคือ ซีซีโร (CICERO : 106 – 43 B.C.) การเต้นรำแบบบอลรูม เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ 1 ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่า “โวลต้า” (VOLTA) ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก เช็คสเปียร์ (SHAKESPEARE : 1564 – 1616) อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า “โคแรนโท หรือ โคแรนเท” (COURANTE) สมัยศตวรรษที่ 17 การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น จอห์น วีเวอร์ และ จอห์น เพทฟอร์ด (JOHN WEAVER & JOHN PLAYFORD) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง 900 แบบอย่าง แซมมวล ไพปส์ (SAMUEL PEPYS : 1632 – 1704) ได้เขียนบันทึกประจำวันในสมัยการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และได้บันทึกไว้เมื่อ ค.ศ.1662 ถึงงานราตรีสโมสร ซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงพาสุภาพสตรีออกเต้น “โคแรนโท” (CORANTO) การเต้นรำได้แพร่เข้ามาประเทศฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเรียกเป็นสำเนียงฝรั่งเศสว่า คองเทร ดองเซ่ (CONTERDANSE) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงโปรดปรานมากและต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีและ สเปน การเต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (WALTZ) ได้เริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1800 เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้น ในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (THE VICTORIAN ERA : 1830 – 80) การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ ต้องต่างคนต่างไป และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า 4 ครั้ง ไม่ได้ หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ สีขาว จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้าง ในศตวรรษที่ 20 นิโกรในอเมริกา มีบทบาทมากทางด้านดนตรี และลีลาต่างๆ ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา ตอนแรกเรียกว่าจังหวะ (SYNCOPATION) มีท่วงทำนองเร้าใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (JAZZ AGE) สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 ใหม่ๆ ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้ คือ จังหวะแทงโก (TANGO) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า แร็กโทม์ (RAG – TIME) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1929 มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาสแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น 5 จังหวะ) ถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์ (WALTZ) ควิกสเต็ป (QUICKSTEP) แทงโก (TANGO) และ ฟอกซ์ทรอต (FOX-TROT) เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (JAZZ AGE) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล ก็จะเป็น 5 จังหวะ) คือ รัมบ้า (RUMBA) ชา ชา ช่า (CHA – CHA – CHA) แซมบ้า (SAMBA) และไจว์ฟ (JIVE) โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน และไจว์ฟจากอเมริกา
ประวัติลีลาศในประเทศไทย แม้จะไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ว่ากีฬาลีลาศแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่จากการสันนิษฐานเชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โดยมีบันทึกของหม่อมแอนนา ว่าได้ลองแนะนำให้ท่านรู้จักกับการเต้นของชนชั้นสูง แต่ท่านกลับรู้จักการเต้นชนิดนั้นได้ดีอยู่แล้ว จึงคาดว่าน่าจะทรงศึกษาจากตำราต่าง ประเทศด้วยพระองค์เอง ต่อมาลีลาศค่อย ๆ เป็นที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และมีการจัดตั้ง สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ ขึ้นใน พ.ศ. 2475 โดยมี หม่อมเจ้าไวทยากร วรวรรณ เป็นประธาน และจัดการแข่งขันเต้นรำขึ้นที่ วังสราญรมย์ โดยมี พลเรือตรี เฉียบ แสงชูโต และ คุณประนอม สุขุม เป็นผู้ชนะในครั้งนั้น และคำว่า "ลีลาศ" ก็ได้ถูกบัญญัติขึ้นในปี พ.ศ. 2476 และเกิด สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทย ขึ้นมาแทน สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การเต้นลีลาศก็ซบเซาลงไป และกลับมาคึกคักอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 จนกระทั่งยื่นจดทะเบียนสมาคม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2491 และใช้ชื่อว่า สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมา จังหวะและท่าเต้น จังหวะบีกิน
การเต้นรำจังหวะบีกิน (BEGUINE)
บีกินเป็นจังหวะลีลาศประเภทเบ็ดเตล็ด (POP AND SOCIAL DANCES) ที่ปัจจุบันนิยมเต้นกันเฉพาะงานสังคมลีลาศทั่วๆไปในประเทศไทยไม่นิยมเต้นกันในต่างประเทศไม่ปรากฏหลักฐานว่าคนไทยเรานิยมเต้นรำจังหวะบีกินมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่พอจะทราบได้คือ ในช่วงเวลาที่ครูอัตถ์พึ่งประยูรบรมครูสอนลีลาศคนหนึ่งของไทยที่เต้นรำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2492 หรือ 2493 นั้นก็มีการเต้นรำจังหวะบีกินกันแล้ว
ดนตรีและการนับจังหวะ
ดนตรีของจังหวะบีกินเป็นแบบ 4/4 คือ มี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง โดยที่สามจังหวะแรกจะเป็นเสียงหนัก และจังหวะที่สี่จะเป็นเสียงเบา และทุก ๆ จังหวะจะมีความเร็วช้าเท่ากันหมด การนับจังหวะจะนับ 1,2,3, พัก, 1,2,3,พัก (พัก หมายถึง พักเข่าหรืองอเข่า) ต่อเนื่องกันไป และก้าวที่ 1ตรงกับจังหวะที่ 1 ของห้องเพลง ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี ดนตรีของจังหวะบีกินบรรเลงด้วยความเร็วประมาณ 28 – 32 ห้องเพลงต่อนาที การจับคู่ การจับคู่เป็นแบบปิดของละตินอเมริกันโดยทั่วไป
การก้าวเท้า
การก้าวเท้าทุก ๆ ก้าวไม่ว่าจะเป็นการเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็ตามต้องให้ฝ่าเท้าถึงพื้นก่อนเสมอ แล้วจึงราบลงเต็มเท้า ในขณะที่เดินเข่าจะงอเล็กน้อยเมื่อยกเท้าก้าวไป และตึงเมื่อวางเท้าถึงพื้นและราบเท้าลง เมื่อรับน้ำหนักตัวเต็มที่ หลักการก้าวเท้า คือ เข่าจะงอข้างหนึ่ง และตั้งข้างหนึ่งสลับกันไปมา ซึ่งจะทำให้สะโพกบิดไปมาอย่างเป็นธรรมชาติและสวยงาม ส่วนลำตัวตึงแต่เอวถึงศีรษะตรงและนิ่ง อย่าแกว่งตัวไปมา เพราะจะทำให้ไม่น่าดู
ทักษะการเต้นรำจังหวะบีกิน
1. สแควร์ (Square)
2. การไขว้
3. การหมุน
1)สแควร์ (Square)
สแควร์ ของฝ่ายชาย ประกอบด้วยการเดิน ดังนี้ เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด หันหน้าตามแนวเต้นรำ น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา
ก้าวที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ 1 จังหวะ
ก้าวที่ 2 ก้าวเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหน้า 2 จังหวะ
ก้าวที่ 3 ก้าวเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปข้างหน้า 3 จังหวะ
พัก งอเข่าขวา พัก
ก้าวที่ 4 ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรง ๆ 1 จังหวะ
ก้าวที่ 5 ถอยเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปข้างหลัง 2 จังหวะ
ก้าวที่ 6 ถอยเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหลัง 3 จังหวะ
พัก งอเข่าซ้าย พัก
สแควร์ ของฝ่ายหญิง ประกอบด้วยการเดิน ดังนี้ เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด หันหน้าย้อนแนวเต้นรำ น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย
ก้าวที่ 1 ก้าวเท้าขวาไปข้างหลังตรง ๆ 1 จังหวะ
ก้าวที่ 2 ถอยเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปข้างหลัง 2 จังหวะ
ก้าวที่ 3 ถอยเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหลัง 3 จังหวะ
พัก งอเข่าซ้าย พัก
ก้าวที่ 4 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ 1 จังหวะ
ก้าวที่ 5 ก้าวเท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหน้า 2 จังหวะ
ก้าวที่ 6 ก้าวเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปข้างหน้า 3 จังหวะ
พัก งอเข่าขวา พัก
2)การไขว้
การไขว้ ของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน ดังนี้ เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด หันหน้าตามแนวเต้นรำ น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา
ก้าวที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายผ่านเท้าขวาไปทางขวา 1 จังหวะ
ก้าวที่ 2 ก้าวเท้าขวาตามไปทางขวา 2 จังหวะ
ก้าวที่ 3 ถอยเท้าซ้ายผ่านส้นเท้าขวาไปทางขวา อีก 1 ก้าว 3 จังหวะ
พัก งอเข่าขวา พัก
ก้าวที่ 4 ยกเท้าขวาย่ำอยู่ที่เดิม 1 จังหวะ
ก้าวที่ 5 ก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้าย 2 จังหวะ
ก้าวที่ 6 ถอยเท้าขวาผ่านส้นเท้าซ้ายไปทางซ้าย 3 จังหวะ
พัก งอเข่าซ้าย พัก
จังหวะช่าช่าช่า
การเต้นรำจังหวะช่ะ ช่ะ ช่า
ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นจังหวะเต้นรำที่พัฒนามาจากจังหวะแมมโบ้ (Mambo) ในอดีตเรียกชื่อจังหวะนี้ แมมโบ้ ช่ะ ช่ะ ช่า ต้นกำเนิดมาจากคิวบัน (คิวบา) เกิดจากอิทธิพลของดนตรีที่พัฒนาไป ทำให้การเต้นรำพัฒนาตามไปด้วย
ดนตรีและการนับจังหวะ
- ดนตรีของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า มีท่วงทำนองที่สนุกสนานเร้าใจ และมีจังหวะเน้นเด่นชัดดนตรีจะเป็นแบบ 4/4 เหมือนกับจังหวะคิวบ้ารัมบ้า คือ ใน 1 ห้องมี 4 จังหวะ
- การนับจังหวะสามารถนับได้หลายวิธี เช่น หนึ่ง -- สอง – สามสี่ – ห้า หรือ หนึ่ง – สอง ช่ะ ช่ะ ช่า หรือนับก้าวจนครบตามจำนวนลวดลายพื้นฐาน หรือนับตามหลักสากลคือ นับตามจังหวะของดนตรี คือ สอง – สาม – สี่ และ – หนึ่ง โดยที่ก้าวแรกตรงกับจังหวะที่ 2 ของห้องเพลง
- ดนตรีของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 32 ห้องเพลงต่อนาที (30 – 40 ห้องเพลงต่อนาที)
การจับคู่
การจับคู่เต้นรำในจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นการจับคู่แบบละตินอเมริกันโดยทั่วไปคือแบบปิด (มือขวาของชายวางบริเวณสะบักของผู้หญิง) การจับคู่นี้ไม่ได้จับอยู่เช่นนี้ตลอดเวลาแต่จะเปลี่ยนไปตามท่าเต้นซึ่งอาจจะต้องจับกันด้วยมือข้างเดียว หรืออาจปล่อยมือที่จับกันอยู่ทั้งสองข้างก็ได้
การก้าวเท้า
การก้าวเท้าในจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า มีการใช้ฝ่าเท้ามากที่สุด ทั้งการก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยหลัง จะต้องให้ฝ่าเท้าสัมผัสพื้นก่อนเสมอแล้วจึงราบลงเต็มเท้า และเมื่อมีการก้าวเท้าเข่าจะต้องงอเล็กน้อย หลังจากราบลงเต็มเท้าแล้วเข่าจึงตึง ส่วนเข่าอีกข้างก็จะงอเพื่อเตรียมก้าวต่อไป เมื่อน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าใดส้นเท้านั้นจะต้องลดลง ดังนั้น จึงมีการสับเปลี่ยนการตึงและงอของช่วงขา พร้อมทั้งการลดลงและยกขึ้นของส้นเท้าสลับกันตามลำดับ
ทักษะการเต้นรำจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า
1. สแควร์ (Square)
2. การไขว้
3. การหมุน
1)สแควร์ (Square) : สแควร์ เป็นการเต้นพื้นฐานที่ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว แบ่งเป็นเดินหน้า 5 ก้าวและถอยหลัง 5 ก้าว
สแควร์ของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา
ก้าวที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 2 จังหวะ
ก้าวที่ 2 ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวา 3 จังหวะ
ก้าวที่ 3 ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย 4 จังหวะ
ก้าวที่ 4 ถอยเท้าขวาเข้ามาใกล้เท้าซ้ายครึ่งก้าว 1 จังหวะ
ก้าวที่ 5 ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังครึ่งก้าว
ก้าวที่ 6 ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรงๆ 2 จังหวะ
ก้าวที่ 7 ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย 3 จังหวะ
ก้าวที่ 8 ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย 4 จังหวะ
ก้าวที่ 9 ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว 1 จังหวะ
ก้าวที่ 10 ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าครึ่งก้าว
สแควร์ของฝ่ายหญิงประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด และน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย
ก้าวที่ 1 ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรง 2 จังหวะ
ก้าวที่ 2 ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย 3 จังหวะ
ก้าวที่ 3 ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย 4 จังหวะ
ก้าวที่ 4 ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว 1 จังหวะ
ก้าวที่ 5 ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าครึ่งก้าว
ก้าวที่ 6 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ 2 จังหวะ
ก้าวที่ 7 ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวา 3 จังหวะ
ก้าวที่ 8 ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย 4 จังหวะ
ก้าวที่ 9 ถอยเท้าขวาเข้ามาใกล้เท้าซ้ายครึ่งก้าว 1 จังหวะ
ก้าวที่ 10 ถอยเท้าซ้ายออกข้างเยื้องไปข้างหลังครึ่งก้าว
2)การไขว้
การไขว้ของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด
ก้าวที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ พร้อมกับเหยียดแขนซ้ายออกไปเพื่อนำให้ผู้หญิงถอยเท้าขวา 2 จังหวะ
ก้าวที่ 2 ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวา พร้อมกับนำผู้หญิงเดินหน้าด้วยการงอแขนซ้ายทีละน้อยจนจบก้าวที่ 5 3 จังหวะ
ก้าวที่ 3 ถอยเท้าซ้ายมาวางข้าง ๆ เท้าขวา ยังคงนำผู้หญิงเดินเข้าหาด้านข้างตัว 4 จังหวะ
ก้าวที่ 4 ก้าวเท้าขวามาชิดซ้าย ยังคงนำผู้หญิงเดินเข้าหาด้านข้างตัว 1 จังหวะ
ก้าวที่ 5 ก้าวเท้าซ้ายแยกออกข้าง ๆ เตรียมยกมือซ้ายขึ้นเพื่อนำให้ผู้หญิงหมุนตัวไปทางขวา
ก้าวที่ 6 ถอยเท้าขวามาข้างหลังตรง ๆ ยกมือซ้ายขึ้นเพื่อนำให้ผู้หญิงหมุนตัวไปทางขวา 2 จังหวะ
ก้าวที่ 7 ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย ยังคงนำผู้หญิงให้หมุนอยู่ 3 จังหวะ
ก้าวที่ 8 ก้าวเท้าขวามาวางข้าง ๆ เท้าซ้าย ยังคงนำผู้หญิงให้หมุนอยู่ 4 จังหวะ
ก้าวที่ 9 ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว 1 จังหวะ
ก้าวที่ 10 ก้าวเท้าขวาแยกออกข้าง ๆ ครึ่งก้าว
การไขว้ของฝ่ายหญิง ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิดแล้วเต้นสแควร์ 5 ก้าว แล้วทำท่าไขว้
ก้าวที่ 1 ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรงๆ 2 จังหวะ
ก้าวที่ 2 ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย 3 จังหวะ
ก้าวที่ 3 ก้าวเท้าขวามาวางข้างๆ เท้าซ้าย 4 จังหวะ
ก้าวที่ 4 ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว 1 จังหวะ
ก้าวที่ 5 ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างๆ ครึ่งก้าว
ก้าวที่ 6 ก้าวเท้าซ้ายผ่านหน้าเท้าขวาพร้อม กับหมุนตัวไปทางขวา 1/4 รอบ 2 จังหวะ
ก้าวที่ 7 ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวาพร้อมกับหมุนตัวมาทางขวา 1/2 รอบ 3 จังหวะ
ก้าวที่ 8 ก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้ายแยกออกข้างๆ พร้อมกับหมุนตัวไปทางขวาอีก 1/4 รอบ 4 จังหวะ
ก้าวที่ 9 ก้าวเท้าขวาเข้ามาใกล้เท้าซ้ายครึ่งก้าว 1 จังหวะ
ก้าวที่ 10 ก้าวเท้าซ้ายแยกออกข้างๆ ครึ่งก้าว
3)การหมุน : การหมุนเป็นการเต้นรำที่มีการปล่อยมือออกจากคู่หมุนตัวอยู่กับที่ 1 รอบ ไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ โดยใช้การหมุนตัว 2 ก้าวแล้วชิดเท้าไล่กันอีก 3 ก้าว (แชสเซ่) ไปทางข้างๆ การหมุนจึงมีการเต้นอยู่ 2 แบบ คือ
หมุนตัวไปทางซ้าย (Spot turn to left) หมุนตัวไปทางขวา (Spot turn to right) การหมุนนี้จะเต้นพร้อมกันทั้งคู่ คือถ้าผู้ชายหมุนตัวไปทางซ้าย ผู้หญิงจะหมุนตัวไปทางขวา เป็นการหมุนตัวตรงข้ามกัน หรือผลัดกันทำคนละครั้งก็ได้ คือถ้าผู้ชายหมุนตัวไปทางขวาในก้าวที่ 1 – 5 ผู้หญิงจะเต้นไทม์ สเต็ป โดยถอยเท้าขวาไปข้างหลังและผู้ชายเต้นไทม์ สเต็ป ในก้าวที่ 6 – 10 ผู้หญิงจะต้องหมุนตัวไปทางขวาสลับกันไป การหมุนตัวไปทางซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
จังหวะตะลุง
เอกลักษณ์เฉพาะ การยั่วเย้า หยอกล้อ หลอกล่อ เบิกบาน และมีชีวิตชีวา
การเคลื่อนไหว การใช้ความยืดหยุ่น โยกและโยน โดยควบคุมด้วยกล้ามเนื้อของลำตัวและความต่อเนื่อง
ห้องดนตรี 4 / 4
ความเร็วต่อนาที 22-24 บาร์ต่อนาที
การเน้นจังหวะ เน้นบน Beat ที่ 1 และการเน้นเคาะของครึ่งบีทหลัง
ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 2 นาที ไม่เกิน 3 นาที
การขึ้นลง การยืดหยุ่น โยกและโยน
หลักพลศาสตร์ ความหนักหน่วง ยืดหยุ่น และทันเวลา
ประกอบด้วย
1. เบสิค จังหวะตะลุง
2. จังหวะตะลุงท่าที่ 2
3. อันเดอร์อาร์มเทิน ตะลุง
ประเภทของลีลาศ
การลีลาศตามหลักมาตรฐานสากล หรือการเต้นรำแบบบอลรูม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทบอลรูม หรือโมเดิร์น หรือสแตนดาร์ด (Ballroom or Modern or Standard)
การลีลาศประเภทนี้จะมีลักษณะการเต้นและท่วงทำนองดนตรีที่เต็มไปด้วยความสุภาพ นุ่มนวล อ่อนหวาน สง่างาม และเฉีบยขาด ลำตัวของผู้ลีลาศจะตั้งตรงผึ่งผาย ขณะก้าวนิยมลากเท้าสัมผัสไปกับพื้น จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำประเภทนี้มี 5 จังหวะ คือ
1.1 ควิกสเตป (Quick Step)
1.2 วอลซ์ (Waltz)
1.3 ควิกวอลซ์ หรือเวียนนิสวอลซ์ (Quick Waltz or Viennese Waltz)
1.4 สโลว์ฟอกซ์ทรอต (Slow Foxtrot)
1.5 แทงโก้ (Tango)
2. ประเภทละตินอเมริกัน (Latin American)
การลีลาศประเภทนี้จะมีลักษณะการเต้นที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียวกว่าประเภทบอลรูม ส่วนใหญ่จะใช้สะโพก เอว ขา และข้อเท้าเป็นส่วนใหญ่ ท่วงทำนองดนตรี และจังหวะจะเร้าใจและสนุกสนานร่าเริง จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำนี้มี 5 จังหวะ คือ
2.1 คิวบัน รัมบ้า (Cuban Rumba)
2.2 ชา ชา ช่า (Cha Cha Cha)
2.3 แซมบ้า (Samba)
2.4 ไจฟว์ (Jive)
2.5 พาโซโดเบล้ หรือพาโซโดเบิ้ล (Paso Doble)
สำหรับการลีลาศในประเทศไทยนั้น ยังมีการเต้นรำที่จัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด (Pop and social Dance) อีกหนึ่งประเภท ซึ่งจังหวะที่นิยมลีลาศกัน ได้แก่ จังหวะบีกิน (Beguine) อเมริกัน รัมบ้า (American Rumba)กัวราช่า (Guaracha) ออฟบีท (Off-Beat) ตะลุง เทมโป้ (Taloong Tempo)และร็อค แอนด์ โรลล์ (Rock and Roll) เป็นต้น
ประโยชน์ของการลีลาศเพื่อสุขภาพ การลีลาศ เป็นการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถเข้าร่วมได้ ทั้งชายและหญิง และทุกกลุ่มวัย เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างบุคลิกลักษณะ ให้สง่างามในการเคลื่อนไหว
การลีลาศ เป็นกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก เป็นเครื่องมือทางสังคม ที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน มีชีวิตชีวา คลายความตึงเครียด ทั้งร่างกายและจิตใจได้ดี หรือจะใช้เป็นกิจกรรมนันทนาการก็ได้ อันจะทำให้เกิดความพึงพอใจขึ้นมา ซึ่งมีผลต่อสุขภาพดังนี้
ประโยชน์ของลีลาศ
1. สร้างเสริมความแข็งแรงอดทนของหัวใจ ปอด กล้ามเนื้อข้อต่อ และกระดูก
2. รูปร่าง ทรวดทรง และบุคลิกภาพดีขึ้น
3. ชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ
4. ช่วยรักษาโรคบางอย่าง ที่เกิดจากการขาดการออกกำลังกาย
5. ผ่อนคลายความจึงเครียดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ
6. ระบบทางเดินอาหารทำงานดีขึ้น
7. เพิ่มการทรงตัวที่ดี และความคล่องแคล่วว่องไว
8. สนองความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจขึ้น
9. ทำให้ชีวิตยืนยาว และมีความสุข
10. ควบคุมน้ำหนักตัว มารยาทของลีลาส
1. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือขบเคี้ยวของขณะลีลาศ
2. ต้องลีลาศไปตามทิศทางที่ถูกต้อง
3. ควรแต่งกายให้ถูกต้องตามกาละเทศะ
4. ให้ความสนใจคู่ลีลาศของตน
5. ไม่แสดงความเบื่อหน่ายคู่ลีลาศของตน
6. อย่าแสดงความสนใจคู่ลีลาศอื่น
7. หากมีความจำเป็นต้องพูดคุยกับผู้อื่นในขณะลีลาศ ควรแนะนำคู่ลีลาศของตนให้รู้จักด้วย
8. ไม่ร้องเพลงคลอเสียงดนตรีขณะลีลาศ
9. ถ้าจะเปลี่ยนคู่ลีลาศ ควรพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย
10. ไม่สอนลวดลายใหม่ขณะที่ลีลาศอยู่บนฟลอร์
11. การลีลาศโดยไม่จับคู่ถือว่าไม่สุภาพ
มารยาทในการลีลาศของสุภาพบุรุษ
1. ไม่ควรยืนข้างฟลอร์เฉยๆ
2. ไม่ตัดคู่ขอลีลาศกับสุภาพสตรีที่กำลังลีลาศอยู่ เมื่อยังมีสตรีอื่นไม่ได้ออกลีลาศ
3. ควรเดินนำหน้าเพื่อขอทาง โดยยื่นมืออีกข้างให้สุภาพสตรีจับถ้าฟลอร์แน่น
4. เมื่อจบเพลงควรเดินตามไปส่งให้ถึงที่นั่ง พร้อมกับกล่าวขอบคุณ
5. ไม่ควรนำลีลาศในลวดลายที่ยาก
6. ถ้าจะขอลีลาศกับสุภาพสตรีอื่น ต้องขออนุญาตคู่ลีลาศของเขาก่อน และให้สุภาพสตรีพอใจที่จะลีลาศด้วย
มารยาทในการลีลาศของสุภาพสตรี
1. พยายามเป็นผู้ตาม
2. รับการขอลีลาศจากสุภาพบุรุษเสมอ
3. กล่าวรับคำขอบคุณของสุภาพบุรุษอย่างสุภาพ
4. เมื่อปฏิเสธการลีลาศจากสุภาพบุรุษคนหนึ่งแล้ว ไม่ควรออกลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะนั้น
ข้อเสียของลีลาส
1. ความเครียดในระหว่างเรียนหากครูฝึกตำหนิดุว่าเร่งรัด
2. ผู้เรียนอารมณ์เสียความเครียดระหว่างเรียน
3. ความเครียดระหว่างฝึกเพื่อหวังไปแข่งขัน
4. หากลีลาศนานเกินไปทำให้ร่างกายอ่อนแรง
ที่มา
http://nuthnaree-leelart.blogspot.com
https://hilight.kapook.com/view/71743
http://latinclub.exteen.com
https://sites.google.com
จังหวะช่า ช่า ช่า (CHA CHA CHA ) - Social Dance. MayIPE (google.com)
จังหวะบีกิน (BEGUINE) - Social Dance. MayIPE (google.com)
การเต้นลีลาศจังหวะตะลุง (Taloong) (bloggang.com)
ประวัติความเป็นมาของการเต้นลีลาศ - KANITTHA SOMPHO (weebly.com)